วันเสาร์ที่ 15 กันยายน พ.ศ. 2561

บทที่1 เซต

บทที่ 1 เรื่องเซต วิชาคณิตศาสตร์พื้นฐาน


เซต เป็นคำที่ไม่ให้ให้นิยาม (Undefined Term) เรามักใช้เซตแทนสิ่งที่อยู่ร่วมกัน ซึ่งหมายถึงกลุ่มของสิ่งต่างๆ ที่เราสามารถกำหนดสมาชิกได้ชัดเจน (Well-Defined) หรือก็คือความหมายของเซตนั่นเอง

การเขียนเซต

1. เขียนแบบแจกแจงสมาชิก (Tabular Form) เป็นการเขียนเซตโดยบรรจุสมาชิกทั้งหมดของเซตลงในวงเล็บปีกกา และระหว่างสมาชิกแต่ละตัวคั่นด้วยเครื่องหมายจุลภาค (,)
เช่น {A,B,C} หรือ {1, 2, 3} เป็นต้น
(หมายเหตุ: ถ้าเซตมีจำนวนสมาชิกมากมาย เราใช้ “…” แทนสมาชิกที่เหลือ)
2. เขียนสับเซตแบบบอกเงื่อนไขของสมาชิกในสับเซต (Set builder form)
มีหลักการ คือ แทนสมาชิกของเซตด้วยตัวแปรแล้วกำหนดเงื่อนไขเกี่ยวกับตัวแปรนั้น เพื่อแสดงว่ามีสิ่งใดบ้างที่เป็นสมาชิกของเซต
วิธีเขียนเซตโดยวิธีนี้ คือ เขียนตัวแปรและสิ่งที่กำหนดเงื่อนไขเกี่ยวกับตัวแปรลงในวงเล็บปีกกาและคั้นตัวแปรกับสิ่งที่กำหนดเงื่อนไขเกี่ยวกับตัวแปรด้วยเครื่องหมาย “|” หรือ “:”
 3. การเขียนเซตด้วยวิธีอื่นๆ เช่น แบบบรรยาย, แบบใช้แผนภาพเวนน์, แบบช่วง เป็นต้น
แผนภาพเวนน์-ออยเลอร์ เป็นแผนภาพที่ใช้เขียนแทนเซตซึ่งแทนเอกภพสัมพัทธ์ U ด้วยสี่เหลี่ยมผืนผ้า และแทนเซต A, B, … ด้วยรูปวงกลม หรือวงรี หรือรูปปิดอื่นๆ ดังรูป
venn-euler-diagram
รูปวงรี แทนเซต A โดยที่ A = {1, 2, 3}
รูปวงกลม แทนเซต B โดยที่ B = {a, b, c}
รูปสามเหลี่ยม แทนเซต C โดยที่ C = {4,5}
 ซึ่งในเรื่องของแผนภาพนี้เรายังทำไปประยุกต์ใช้ในเรื่องการกระทำระหว่างเซต ซึ่งแสดงด้วยแผนภาพจะทำให้ดูเข้าใจง่ายขึ้น

เนื้อหาคณิตศาสตร์ ม.4 เรื่องเซต

  1. ความหมายของเซต
  2. เซตจำกัด และเซตอนันต์
  3. เซตว่าง และเอกภพสัมพัทธ์
  4. ยูเนียน อินเตอร์เซกชันและคอมพลีเมนต์ของเซต
  5. สับเซตและเพาเวอร์เซต
  6. แผนภาพเวนน์-ออยเลอร์      

    ความหมายของเซต

    บทที่ 1 เซต (SET)
    http://web.ku.ac.th/schoolnet/snet2/knowledge_math/set/set5.htm
    เซต เป็นวิชาคณิตศาสตร์ที่ว่าด้วยเรื่องของกลุ่มของสิ่งต่างๆ ที่เราสนใจ กล่าวคือ ซึ่งนับว่าเป็นพื้นฐานคณิตศาสตร์เพื่อใช้เป็นพื้นฐานในการศึกษาคณิตศาสตร์ เรื่องอื่นๆ ในระดับต่อไปที่สาคัญ
    1.1 ความหมายของเซต
    เซต เป็นคาที่ไม่ต้องนิยามความหมาย ( Undefine team ) แต่เราใช้คาว่า เซต แทนกลุ่มของสิ่งของ จานวน หรือสิ่งมีชีวิตที่การกล่วงถึง เช่น กลุ่ม กอง หมู่ เหลา โขลง คณะ พวก ชุด ฯลฯ
    เมื่อกล่าวถึงเซต สิ่งที่คำนึงถึงคือ เซตนั้นมีสิ่งใดบ้างที่สอดคล้องกันคากล่าวของเซต สิ่งที่อยู่ภายในเซตเรียกว่า “สมาชิกเซต” ( Element ) เช่น
    1. เซตของจานวนคู่บวกที่น้อยกว่า 10
    สมาชิกของเซตคือ 2, 4, 6 และ 8
    2. เซตของสระในภาษาอังกฤษ
    สมาชิกเซต คือ a, e, i, o, และ u
    ในการศึกษาเรื่องเซต จะใช้สัญลักษณ์ € แทนคาว่า “เป็นสมาชิกของ” และนิยมตั้งชื่อให้กับคาบอกเซต ซึ่งชื่อเซตที่ตั้งนิยมใช้ตัวอักษรภาษาอังกฤษตัวพิมพ์ใหญ่เป็นชื่อของเซต
    เช่น A, B, C, เป็นต้น
    ตัวอย่าง
    เมื่อกล่าวคือ เซตของจานวนคู่บวกที่น้อยกว่า 10 กาหนดให้ชื่อเซตเป็น เซต A จะพิจารณาได้ว่า
    2  €  A ( อ่านว่า 2 เป็นสมาชิกของเซต A )
    10 €  A ( อ่านว่า 10 ไม่เป็นสมาชิกของเซต A )
    ตัวอย่าง 1
    1. เซตของจำนวนนับที่มากกว่า 5 แต่น้อยกว่า 10
    2. เซตของจังหวัดที่ขึ้นต้นด้วยพยัญชนะ “ข”
    3. เซตของพยัญชนะของคาว่า “วิทยาลัย”                                   
    วิธีทำ 1. เซตของจำนวนเต็มที่มากกว่า 5 แต่น้อยกว่า 10
    สมาชิกของเซตคือ 6, 7, 8, และ 9
    2. เซตของจังหวัดที่ขึ้นต้นด้วยพยัญชนะ “ข”
    สมาชิกเซตคือ ขอนแก่น
    3. เซตของพยัญชนะของคาว่า “วิทยาลัย”
    สมาชิกของเซตคือ ท, ย, ล และ ว

    ข้อสังเกต
    R แทนเซตของจำนวนจริง
    R+ แทนเซตของจำนวนจริงบวก
    R- แทนเซตของจำนวนจริงลบ
    Q แทนเซตของจำนวนตรรกยะ
    Q+ แทนเซตของจำนวนตรรกยะบวก
    Q- แทนเซตของจำนวนตรรกยะลบ
    I แทนเซตของจำนวนเต็ม
    I+ แทนเซตของจำนวนเต็มบวก
    I- แทนเซตของจำนวนเต็มลบ
    I0 แทนเซตของจำนวนเต็มศูนย์
    N แทนเซตของจำนวนธรรมชาติหรือจานวนนับ     

    1. เซตจำกัด (Finite Set)

    เซตจำกัด (Finite Set) คือ เซตที่สามารถนับจำนวนสมาชิกได้ทั้งหมดและมีจำนวนที่แน่นอน เช่น A = {1, 2, 3, … ,20} จะเห็นได้ว่าเซต A สามารถบอกจำนวนสมาชิกได้ว่าเซตนี้มีจำนวนสมาชิกทั้งหมด 20 ตัว ดังนั้น เซต A จึงเป็นเซตจำกัด
    ลองดูอีกตัวอย่างกันนะครับ B = { 3 } จะเห็นได้ว่าเซต B สามารถที่จะบอกจำนวนสมาชิกได้ คือ 1 ตัว ดังนั้นเซต B จึงเป็นเซตจำกัด
    **หมายเหตุ เซตว่าง (Empty Set) ถือเป็นเซตจำกัด เขียนสัญลักษณ์แทนเซตว่างได้ดังนี้ หรือ { }

    2. เซตอนันต์ (Infinite Set)

    เซตอนันต์ (Infinite Set) คือ เซตที่ไม่สามารถบอกจำนวนสมาชิกได้เพราะสมาชิกมีจำนวนมาก เช่น A = {1, 2, 3, … } จะเห็นได้ว่าเซต A ไม่สามารถบอกจำนวนสมาชิกตัวสุดท้ายที่อยู่ในเซตนี้ได้หมด ดังนั้นเซต A จึงเป็นเซตอนันต์
    ลองมาดูกันอีกตัวอย่างนึง B = {3, 5, 7, …} จะเห็นได้ว่าเซต B ไม่สามารถบอกจำนวนสมาชิกที่เป็นจำนวนคี่ได้หมด ดังนั้นเซต B จึงเป็นเซตอนันต์ 

    เซตว่าง (Empty Set)

    เซตว่าง คือ เซตที่ไม่มีสมาชิก หรือมีจำนวนสมาชิกในเซตเป็นศูนย์ สามารถเขียนแทนได้ด้วยสัญลักษณ์ {} หรือ Ø
    ตัวอย่างเช่น
    A = {x | x เป็นจำนวนเต็ม และ 1 < x < 2} ∴ A = Ø
    B = { x | x เป็นจำนวนเต็มบวก และ x + 1 = 0 } ∴ B = Ø
    เนื่องจากเราสามารถบอกจำนวนสมาชิกของเซตว่างได้ ดังนั้น เซตว่างเป็นเซตจำกัด

    เอกภพสัมพัทธ์ (Relative Universe)

    เอกภพสัมพัทธ์ คือ เซตที่กำหนดขอบเขตของสิ่งที่ต้องการศึกษา ซึ่งถือว่าเป็นเซตที่ใหญ่ที่สุด โดยมีข้อตกลงว่า ต่อไปจะกล่าวถึงสมาชิกของเซตนี้เท่านั้น จะไม่มีการกล่าวถึงสิ่งใดที่นอกเหนือไปจากสมาชิกของเซตที่กำหนดขึ้นนี้ โดยทั่วไปนิยมใช้สัญลักษณ์ U แทนเอกภพสัมพัทธ์
    เช่น กำหนดให้ U = {1,2,3,4,5,6,7,8}
    A = {1,3,5,7}
    B = {2,4,8}
    หรือกำหนดให้ U = {x ε I+ | 1<x<20}
    A = {x ε U | x=n+3 เมื่อ n เป็นจำนสวนเต็มคี่บวก}
    B = {x ε U | x=n+3 เมื่อ n เป็นจำนสวนเต็มคู่บวก}
    นั่นคือทั้ง A และ B เป็นสับเซตของ Uยูเนียน อินเตอร์เซกชัน และคอมพลีเมนต์ของเซต เป็นส่วนหนึ่งของการกระทำระหว่างเซต เรานิยมเขียนออกมาในสองรูปแบบด้วยกันคือแบบสมการ และแผนภาพเวนน์-ออยเลอร์ เราลองมาดูกันครับว่ายูเนียน อินเตอร์เซกชัน และคอมพลีเมนต์ของเซต เป็นอย่างไรพร้อมตัวอย่าง

    ยูเนียน (Union)

    ยูเนียน (Union) มีนิยามว่า เซต A ยูเนียนกับเซต B คือเซตซึ่งประกอบด้วยสมาชิกที่เป็นสมาชิกของเซต A หรือ เซต B หรือทั้ง A และ B สามารถเขียนแทนได้ด้วย สัญลักษณ์ A ∪ B
    ตัวอย่างเช่น
    A ={1,2,3}
    B= {3,4,5}
    ∴ A ∪ B = {1,2,3,4,5}
    เราสามารถเขียนการยูเนี่ยนลงในแผนภาพได้ดังนี้
    union

    อินเตอร์เซกชัน (Intersection)

    อินเตอร์เซกชัน (Intersection) มีนิยามคือ เซต A อินเตอร์เซกชันเซต B คือ เซตซึ่งประกอบด้วยสมาชิกที่เป็นสมาชิกของเซต A และเซต B สามารถเขียนแทนได้ด้วยสัญลักษณ์ A ∩ B
    ตัวอย่างเช่น
    A ={1,2,3}
    B = {3,4,5}
    ∴ A ∩ B = {3}
    เราสามารถเขียนการอินเตอร์เซกชันลงในแผนภาพได้ดังนี้
    intersection

    คอมพลีเมนต์ (Complements)

    คอมพลีเมนต์ (Complements) มีนิยามคือ ถ้าเซต A ใดๆ ในเอกภพสัมพัทธ์ U แล้วคอมพลีเมนต์ของเซต A คือ เซตที่ประกอบด้วยสมาชิกที่เป็นสมาชิกของ U แต่ไม่เป็นสมาชิกของ A สามารถเขียนแทนได้ด้วยสัญลักษณ์ A’
    ตัวอย่างเช่น
    U = {1,2,3,4,5}
    A ={1,2,3}
    ∴ A’ = {4,5}
     เราสามารถเขียนการคอมพลีเมนต์ของเซตลงในแผนภาพได้ดังนี้
    complement

    สับเซต (Subset)

    ถ้าสมาชิกทุกตัวของ A เป็นสมาชิกของ B แล้ว จะเรียกว่า A เป็นสับเซตของ B จะเขียนว่า
    เซต A เป็นสับเซตของเซต B แทนด้วย A ⊂ B
    ถ้าสมาชิกบางตัวของ A ไม่เป็นสมาชิกของ B จะเรียกว่า A ไม่เป็นสับเซตของ B
    เซต A ไม่เป็นสับเซตของเซต B แทนด้วย A ⊄ B

    สมบัติของสับเซต

    1) A ⊂ A (เซตทุกเซตเป็นสับเซตของตัวมันเอง)
    2) A ⊂ U (เซตทุกเซตเป็นสับเซตของเอกภพสัมพัทธ์)
    3) ø ⊂ A (เซตว่างเป็นสับเซตของทุกๆ เซต)
    4) ถ้า A ⊂ ø แล้ว A = ø
    5) ถ้า A ⊂ B และ B ⊂ C แล้ว A ⊂ C (สมบัติการถ่ายทอด)
    6) A = B ก็ต่อเมื่อ A ⊂ B และ B ⊂ A
    7) ถ้า A มีจำนวนสมาชิก n ตัว สับเซตของเซตจะมีทั้งสิ้น 2n สับเซต

    สับเซตแท้

    นิยาม A เป็นสับเซตแท้ของ B ก็ต่อเมื่อ A⊂B และ A ≠ B
    ตัวอย่าง กำหนดให้ A = { a , b , c } จงหาสับเซตแท้ทั้งหมดของ A
    วิธีทำ สับเซตแท้ของ A ได้แก่
    ø, {a} , {b} ,{c} , {a,b} , {a ,c} , {b,c}
    มีจำนวนสมาชิกทั้งสิ้น 7 สับเซต
    หมายเหตุ ถ้า A มีจำนวนสมาชิก n ตัว สับเซตแท้ของเซตA จะมีทั้งสิ้น 2n –1 สับเซต
    เราสามารถเขียนความสัมพันธ์ของสับเซตออกมาในรูปของแผนภูมิได้ดังนี้ครับsubset สับเซตจากรูปแสดงได้ว่า A⊂B

    เพาเวอร์เซต (Power Set)

    คำว่า เพาเวอร์เซต เป็นคำศัพท์เฉพาะ ซึ่งใช้เป็นชื่อเรียกเซตเซตหนึ่งที่เกี่ยวข้องกับเรื่องสับเซต
    เพาเวอร์เซตของ A เขียนแทนด้วย P(A)
    P(A) คือเซตที่มีสับเซตทั้งหมดของ A เป็นสมาชิก

    สมบัติของเพาเวอร์เซต

    ให้ A , B เป็นเซตใดๆ
    1) ø ⊂ P(A)
    2) A ⊂ P(A)
    3) P(A) ≠ ø
    4) P(A) ⊂ P(B) ก็ต่อเมื่อ A ⊂ B
    5) ถ้า A มีสมาชิก n ตัว P(A) จะมีสมาชิก 2n ตัว

    แผนภาพเวนน์-ออยเลอร์

    แผนภาพเวนน์-ออยเลอร์ คือแผนภาพที่ใช้เขียนแทนเซตโดยใช้รูปปิดอะไรก็ได้ เช่น รูปสามเหลี่ยม รูปวงกลม รูปวงรี แต่จะนิยมเขียนแทนเอกภพสัมพัทธ์ด้วยรูปสี่เหลี่ยมผืนผ้า แล้วเขียนแทนเซตในเอกภพสัมพัทธ์ด้วยรูปวงกลม

    ตัวอย่างการเขียนแผนภาพเวนน์-ออยเลอร์

    กำหนด U={0,1,2,3,...,10},A={2,4,6} และ B={1,3,5}
    เขียนเป็นแผนภาพเวนน์-ออยเลอร์ได้ดังนี้
    เซต A และ B ไม่มีสมาชิกที่เหมือนกันเลย แสดงว่าทั้ง 2 วง แยกออกจากกันชัดเจน
    เราใส่ตัวเลขที่เป็นสมาชิกของ A และ B ลงในวงกลมทั้ง 2 เซต
    ตัวเลขที่เหลือในเอกภพสัมพัทธ์ที่ไม่ได้อยู่ทั้งในเซต A และ B เราต้องเขียนแสดงไว้ในกรอบสี่เหลี่ยมผืนผ้านอกวงกลม

    ตัวอย่างการเขียนแผนภาพเวนน์-ออยเลอร์

    กำหนด U={0,1,2,3,...,10},A={1,2,3,4,5} และ B={3,5,6,7,8}
    เขียนเป็นแผนภาพเวนน์-ออยเลอร์ได้ดังนี้
    ในกรณีนี้ เซต A และ B มีสมาชิกที่เหมือนกันคือ 3 และ 5 ดังนี้น ทั้งสองเซตจึงมีบางส่วนซ้อนกัน
    3 และ 5 จึงอยู่ในส่วนที่เซต A และ B ซ้อนกัน

     ตัวอย่างการเขียนแผนภาพเวนน์-ออยเลอร์

    กำหนด U={0,1,2,3,...,10},A={1,2,3} และ B={1,2,3,4,5,6}
    เขียนเป็นแผนภาพเวนน์-ออยเลอร์ได้ดังนี้
    ในกรณีนี้จะเห็นว่า AB ดังนั้น เซต A ทั้งวงจึงเข้าไปอยู่ในเซต B

    แผนภาพเวนน์-ออยเลอร์ กับการดำเนินการของเซต

    แผนภาพเวนน์-ออยเลอร์ ช่วยให้เรามองความสัมพันธ์ระหว่างเซต และการดำเนินการของเซตได้ชัดเจนขึ้น
    1.  ยูเนี่ยน
    ส่วนที่แรเงาแสดงพื้นที่ของ AB
    2.  อินเตอร์เซกชั่น
    ส่วนที่แรเงาแสดงพื้นที่ของ AB
    3.  ผลต่าง
    ส่วนที่แรเงาแสดงพื้นที่ของ AB
    4.  คอมพลีเมนต์
    ส่วนที่แรเงาแสดงพื้นที่ของ 

ไม่มีความคิดเห็น:

แสดงความคิดเห็น

บทที่5 ความสัมพันธ์และฟังก์ชัน

บทที่5 ความสัมพันธ์และฟังก์ชัน คู่อันดับ ( Order Pair )  เป็นการจับคู่สิ่งของโดยถือลำดับเป็นสำคัญ เช่น คู่อันดับ  a ,  b  จะเขียนแทนด้...